Saksern :: a Thai Native Guru  
 
  ผลงานนาฏศิลป์ 11/23/2024 1:00am (UTC)
   
 

พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นสมาชิกยุวพุทธิกสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ก่อตั้งยุวพุทธศาสนิกสมาคมลำปาง ในปีถัดมา   พ.ศ.๒๔๙๙ก่อตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดคะตึกเชียงมั่น เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่เด็กและเยาวชนในวันอาทิตย์ เป็นงานอาสาสมัครไม่มีสิ่งตอบแทน ในปีนี้ได้เริ่มใช้ศิลปะด้านตนตรีและการแสดงเข้ามาใช้จัดกิจกรรม

พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นบรรณาธิการหนังสือพุทธิกที่ระลึกยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
พิมพ์บทความธรรมะและบทเพลงพร้อมโน้ตสอนธรรมะกิจกรรมสำหรับเด็ก
ได้มีการปรับปรุงรวมเล่ม พร้อมทำแผ่นเสียงเผยแพร่โดยยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชุดโรงเรียนของฉันและอริยสัจ ๔ เป็นผู้นำโคมลอยกลับมาใช้ในการเปิดงานพิธีเป็นคนแรก(ถูกป้ายลูกโป่งแทนที่)

พ.ศ.๒๕๐๔ มีการแต่งเพลงธรรมเพื่อเผยแพร่นับร้อยเพลง ได้เขียนบทละครเพลงเวทีอิงธรรมเรื่องแก้วตาแม่ออกแสดง ในปี ๒๕๐๘เขียนการ์ตูนเรื่องแก้วตาแม่   มีโน๊ตดนตรีสากลประกอบโดยการสนับสนุนของท่านพุทธทาสภิกขุ คณะจัดทำหนังสืออนุสารเพื่อนใจแห่งโรงเรียนเพลงและการสิตสื่อทัศนูปกรณ์การสอน
และการแสดงบทบาท ในระหว่างเผยแพร่การสอนแก่นักเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยมหาธาตุได้นำการ์ตูนพุทธศาสนาเรื่องแก้วตาแม่ และบทเพลงธรรมชุดนี้ไปเผยแพร่   ในปีเดียวกันนี้ ศจ.เคิร์ท เอฟ ผู่อำนวยการพุทธสมาคมอเมริกา โดยการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน ได้มาเห็นกิจกรรมเผยแพร่เพลงธรรมของลำปางแล้วเห็นว่ามีคุณค่า จึงประสานงานขอให้ยุวพุทธฯลำปางไปแสดงการเผยแพร่ธรรมด้วยวิธีใหม่ใช้ทั้งการแสดง สื่อการสอน และเพลงเข้ามาช่วยอย่างมีสีสรรในระดับประเทศ มีการสาธิตทางโทรทัศน์สีช่อง ๔ บางขุนพรม และ มหาวิทยาลัย สถาบัน สถานศึกษาอย่างกว้างขวาง

พ.ศ.๒๕๐๕ ก่อตั้งลำปางมิวสิคคลับ นายสักเสริญ(ศักดิ์) รัตนชัย บรรเลงในตำแหน่งไวโอลินร่วมกับนักดนตรีอาชีพและชาวต่างประเทศ
และผู้มีความสามารถในท้องที่ตลอดจนฝึกสอนเยาวชนที่ใฝ่รักทางดนตรี   ทั้งยังเป็นผู้จัดทำสกอร์เพลงเพื่อใช้บรรเลง นอกจากจะนำเพลงคลาสสิกสากล
ที่มีชื่อมาบรรเลงแล้วยังได้นำเพลงไทยโบราณมารังสรรบรรเลงในแนวคลาสสิก อาทิ เพลงบัณเฑาะว์(สมัยอยุธยา) เพลงแม่แล้ลำปาง(ทำนองโบราณ) เป็นต้น นับเป็นวงบรรเลงดนตรีคลาสสิกแนวหน้าในสมัยนั้น

พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นผู้ร่วมฝึกสอนวงโยธวาธิตโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และลำปางกัลยาณี ในปีนี้แต่งเพลงมาร์ชโรงเรียนลำปางกัลยาณี

พ.ศ.๒๕๐๘ สร้าง(เขียนบท กำกับ)ภาพยนตร์เพื่อศีลธรรม ๑๖ ม.ม.เรื่องแก้วตาแม่ มีนายชุมพล   นิธิมงคล และนายธัญญรัตน์ รัตนชัย(บุตร)เป็นผู้แสดงนำ เผยแพร่ทางโทรทัศน์ช่อง๘ลำปาง   ฉายแบบหนังกลางแปลงทั่วไป และฉายในการเผยแพร่ร่วมกับสภาวยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๒๗ เป็นเลขานุการและวิทยากรศูนย์สอบดนตรีโพ้นทะเล Trinity College of Music Oversaes Centre   (London) ภาคเหนือที่ลำปาง จัดสอบเทียบความรู้ความสามารถทางดนตรีด้วยเกณฑ์มาตรฐานเดียวกับประเทศอังกฤษ
 หนึ่งในผู้เข้าสอบปีนั้นเป่าแตรทรัมเป็ตได้คะแนนเต็ม๑๐๐สูงที่สุดในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ดช.บุรีรัตน์ รัตนชัย อายุ ๙ ปี (บุตร)

พ.ศ.๒๕๑๓ ก่อตั้งโรงเรียนดนตรีลำปางมิวสิค 
พ.ศ.๒๕๑๕ ตั้งวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิค(ไม่เกิน๘ชิ้น)ชื่อโซนาติน่า(Sonatina) ออกแสดงเผยแพร่

พ.ศ. ๒๕๑๖ ก่อตั้งกิจการพางลางโฆษณา จัดรายการวิยุ โทรทัศน์และสื่ออื่นๆ   (ควบคู่ไปกับเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ภาคเหนือนิวส์ ,เสียงโยนก เป็นนักเขียน นักข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น คนเมือง ไทยลานนา   เอกราช   และหนังสือพิมพ์ส่วนกลางคือ พิมพ์ไทย   ไทยรัฐ   เดลินิวส์   สยามรัฐ และบ้านเมือง)จึงต้องเขียนบทโทรทัศน์และวิทยุ ทั้งต้องสร้างภาพยนตร์โฆษณาเป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่นเพลง ชีวิตนักข่าว” โดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยจัดบรรเลงนายทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เป็นผู้ขับร้องบันทึกลงแผ่นเสียง ใช้ประกอบการบทละคร
เรื่อง “ชีวิตนักข่าว” แสดงโดยสื่อมวลชนวิทยุหนังสือพิมพ์และคณะทีวิ สถานีวิทยุช่อง ๘ ลำปาง

พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๘ ก่อตั้งและเป็นครูใหญ่โรงเรียนดนตรีสยามกลกาลลำปาง นักเรียนดนตรีมีความสามารถระดับประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนั้น นายอภิรัตน์ รัตนชัย บุตรคนที่๔ อายุ ๑๘ ปี ชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์ระดับประเทศและเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติเมื่อปี ๒๕๒๒ และในปี ๒๕๒๔ นางสาวตาลทิพย์ รัตนชัย บุตรีคนที่๕ อายุ ๑๕ ปี ได้ตำแหน่งชนะเลิศภาคเหนือและรองชนะเลิศในระดับทั่วประเทศ

พ.ศ.๒๕๒๒ ก่อตั้งสมาคมดนตรีนครลำปาง

พ.ศ.๒๕๑๓  ได้ประพันธ์เพลงแนวโอเปร่า ร่ำเปิงลำปาง” บรรยายวิถีพื้นบ้านลำปาง ได้นำสำเนียงดนตรีฟ้อนผีมดและผีเม็งลำปางที่แตกต่างจากสำเนียงพื้นเมืองจังหวัดอื่นมาใช้
 คำร้องคำเมืองแบบโบราณนาวาอากาศอารี สุขะเกศ หัวหน้ากองดุริยางค์ทหารอากาศได้นำเพลงนี้
ไปเรียบเรียงเสียงประสาน บรรเลงเป็นรายการกุศลสมทบทุนมูลนิธิ ฝน แสงสินแก้ว ณ โรงละครแห่งชาติ
ครั้งแรกวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๒ และเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ในปี ๒๕๒๓ นับได้ว่าเป็นเพลงสุดยอดในชีวิตเพลงหนึ่งของนายสักเสริญ(ศักดิ์) รัตนชัย ปัจจุบันอาจถือได้ว่ากลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางไปก็ว่าได้ เพลงนี้ได้นำมาประดิษฐ์ชุดการแสดงที่ถือได้ว่าเป็นชุดประจำจังหวัดที่จะต้องแสดงทุกครั้งที่มีพิธีการสำคัญใหญ่น้อย

พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๙ ศิลปินบรรเลงไวโอลิน และครูดนตรีอิสระ

พ.ศ.๒๕๓๑- ๒๕๔๔ จัดรายการโทรทัศน์ “ศิลปินหรรษา” ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต๓ กรมประชาสัมพันธ์(ช่อง๑๑ภาคเหนือ) เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ศิลปะด้านดนตรี การแสดง ที่เน้นหนักด้านการอนุรักษ์ติดต่อกัน ๑๓ปี ศิลปินพื้นบ้านถิ่นเหนือจำนวนมากได้ให้เกียรติมาเผยแพร่ในรายการนี้

พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๔๖ เป็นผู้อำนวยการสถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก และอาจารย์ประจำวิชาอารยธรรมไทย มหาวิทยาลัยโยนก ในช่วงนี้นับเป็นช่วงที่มีผลงานด้านวัฒนธรรมที่ต้องใช้ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ออกมาอย่างมากมายและต่อเนื่องถึง ๑๔ ปี ทั้งได้ร่วมมือกับภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชนและสถาบันต่างๆเพื่อรังสรรศิลปะฟ้อนรำและดนตรีพื้นบ้าน   มีสืบสานเสาะหาหลักฐานจากเอกสารและภาพโบราณจำนวนมากเพื่อประดิษฐ์ท่าร่ายรำพร้อมวางโครงเรื่องการแสดงโดย
ดัดแปลงมาจากตำนานต่างๆอย่างมีระบบ นักศึกษา ประชาชนจำนวนมาก   การจรรโลงอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านทั้งนาฏศิลป์และดนตรีแผ่ออกไปอย่างได้ผล เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนทั้งระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก อาทิเช่น

-          ศึกษาเอกสารและหลักฐานโบราณจากแหล่งต่างๆ เช่น ภาพวาดที่วัดนาแส่ง ชุมชนโบราณของชาวเชียงแสนอพยพ ภาพวาดวัดเวียงต้าอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ครั้งสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดลำปาง ศึกษาขั้นตอนต่างการผลิตไหม ออกเก็บข้อมูล
เพลงและการแสดงพื้นบ้านจากศิลปินผู้เฒ่าที่ยังคงมีชีวิตอยู่ แปลตำนานภาษาพื้นเมืองจำนวนมาก ทั้งได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้งจนสามารถแบกแบะรู้ลึกซึ้งเขาเราเพื่อดึง
สำเนียงเอกลักษณ์ลำปางออกมาได้อย่างถูกต้องโดดเด่น ประกอบเรื่องราวในตำนานสร้างบทการแสดง ดนตรี และท่าร่ายรำแบบโบราณจำนวนมาก เช่น ชุดหงษ์หิน การฟ้อนจ้อง ฟ้อนก่ำเบ้อ ฟ้อนเผียไหมลำปาง การแสดงแบบ
Role Play ชุดสไบอมรา ชุดก่ำเบ้อ ไปจนถึงการฟื้นกลองปูจา(กลองบูชา)ให้กลับมาอีกครั้ง

-     ๒๓ –๒๙ พ.ย.  ๒๕๓๙ สำนักกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับจังหวัดลำปาง
ได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกพื้นบ้านแห่งชาติครั้งที่ ๑๑
และมหกรรมพื้นบ้านเอเชียครั้งที่ ๕ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เอกสารโบราณ ๕๐ ปี
 สวนสาธารณเขลางค์ จังหวัดลำปาง ได้จัดแสดง Role play ตำนานวิถีชีวิตประกอบ จินตลีลาแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านชุดระบำหอกดาบเจิงฟ้อนก่ำเบ้อ โดยนักศึกษานักเรียนสถาบันต่าง๖๐ คน

-          แลกเปลี่ยนความรู้นาฏศิลป์กับศิลปินยูนนาน

-          สร้างบท Roleplay ตำนานเพลงประกอบจินตลีลา การแสดงชุด เพลงภูมิแผ่นดิน
งานมหกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนามจังหวัดลำปางและกา ชาด ทั้งภาคสนามและรายการทางโทรทัศน์ช่อง ๑๑ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดย
เครือข่ายนาฏศิลป์ของสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง จากบุคลากรสถาบันต่าง ๆ ทั้งข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวม ๑๒๐ คน

-          ในปีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่๑๓ (13 th Asian Games Bangkok ๑๙๙๘) ณ ศูนย์กีฬาเอเชียนเกมส์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
 ๗–๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ ได้ควบคุมและฝึกซ้อมการแสดงศิลปะการต่อสู้ ของคณะนาฏศิลปวิทยาลัยโยนก ชุดระบำฟ้อนจ้องก่ำเบ้อ (ระบำร่มผีเสื้อ) วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ และตำนานประวัติศาสตร์ค้อนสองเต้ากระทู้รั้วลำปาง
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๑ ในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยจากภาคเหนือ

-          ในปีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๒–๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒  ไปร่วมงานมหกรรมพื้นบ้านนานาชาติ (International Folklore Festival of Lefkada) ครั้งที่ ๓๗
ประเทศกรีซ ใช้คณะแสดง ๒๙ คนแสดงนาฏศิลป์ตำนานเพลงประวัติศาสตร์ชุด Yonok Indochina Thai

-        มหาวิทยาลัยโยนก ไปแสดงศิลปวัฒนธรรมทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๓   ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ได้สร้างระบำตำนานล่องสะเปา แต่งเพลงขับร้องแบบล้อเสียง
โดยแบ่งกลุ่มขับร้องสวนทำนองกันใช้ในงานเทศกาลประเพณีเพ็ญเดือนสิบสอง
เป็นเพลงสะท้อนประเพณีลอยประทีปทางน้ำเป็นรูปเรือที่ต่างไปจากกระทง
และยังได้แสดงในรายการศิลปินหรรษาสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ และอื่นๆ

     

-      พ.ศ.๒๕๓๘ คิดประดิษฐ์กลวิธีการเรียนรู้พื้นฐานดนตรีอย่างง่ายด้วยการละเล่น โน๊ตนิ้วมือ”ได้นำเสนอสาธิตวิธีสอนโน้ตนิ้วมือในรายการเทิดพระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค. ๒๕๓๘ ด้วยเพลงพระราชนิพนธ์ ทางสถานีโททัศน์ช่อง๑๑
ได้ตีพิมพ์บทความเรื่องการสอนโน้ตนิ้วมือกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในหนังสือเทิดพระเกียรติอัจฉริยมหากษัตริย์ไทย ของทบวงมหาวิทยาลัย
 และได้สาธิตแก่กลุ่มคนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เช่น นักศึกษาจากโอกินาว่า
(ประเทศญี่ปุ่น)ตามโครงการวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย
-ญี่ปุ่น Yonok-OIU ที่ประเทศไต้หวัน 2 ครั้งคือพ.ศ.๒๕๔๗และ๒๕๔๙ คณะนักแสดงจากมณฑลยูนนานประเทศจีนปี ๒๕๔๙ ๒๕๔๙ ฯลฯ นับเป็นภูมิปัญญาหนึ่งในการพิจารณา(ร่วมกับการคิดค้นวิธีเรียน-สอนภาษาไทยคำเมือง)
จนได้รับการคัดเลือกเป็นครูภูมิปัญญาไทย ปี ๒๕๔๙

-  พ.ศ.๒๕๓๙ ก่อตั้งสำนักจุมสะหรีลำปาง(มาจนถึงปัจจุบัน)
 โดยใช้ลานวัดกู่คำจังหวัดลำปางถ่ายทอดแบบศิลปะพื้นบ้าน
ลานวัดเพื่อดึงเด็กและเยาวชนเข้าสู่วัดห่างไกลสิ่งยั่วยุและ
มีกิจกรรมเชิงอนุรักษ์สร้างสวรรในวันเสาร์-อาทิตย์ เผยแพร่ สืบสานงานด้านดนตรีพื้นบ้านการฟ้อนรำแบบเมืองเหนือและ
เปิดสอนการเขียนอ่านอักขระไทยคำเมือง
เป็นงาน อาสาสมัครไม่มีผลตอบแทน
ein Bild
พ.ศ.๒๕๔๐ -แสดงและสาธิตศิลปะดาบเจิงก่าเกิ้ง ในนามศูนย์ศิลปะข่วงเจิมจุมสะหรีวัดกู่คำในเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง

สาธิตในมหาวิทยาลัยซิดนีย์และแสดงบนเวทีทัมบาลิงปาร์คในงานสัปดาห์ชีวิตไทยเนื่องในวันสงกรานต์ ณ นครซิดนีย์
ประเทศออสเตรเลีย จัดโดยสำนักวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงซิดนีย์ และสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๐ เมษายน ๒๕๔๐
 
 
  Index
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  2550/2007
เฉลิมชนม์ein Bild๘๐พรรษา
  Facebook
  อักขระ
คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏลำปาง เปิดหลักสูตรเร่งรัด ระดับประกาศนียบัตร วิชาอักขระไทยคำเมือง รุ่นที่3 (4คาบ/เสาร์-อาทิตย์) เริ่ม 16 มิถุนายน2550 สอบถามที่คณะฯ และ อ.ศักดิ์ 054-217492
  จุมสะหรี
ชุมนุมจุมสะหรีลำปาง วัดกู่คำ สอนฟ้อนรำ อักขระตัวเมือง ฟรี! เสาร์-อาทิตย์ 10:00-12:00 น. สอบถาม สุทธินา[054-350544] สมคิด[054-224374] ปวีณา[06-1798695] จันทนา[07-1854849] ราตรี[054-218512]
ครูศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 363 ทิพย์ช้าง ลำปาง 52000 โทร. 054-217492
  Webmaster
e-mail: 1000eyesmedia@gmail.com
  บริจาค DONATE
Today, there have been 11 visitors (12 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free